คณะกรรมการ IM

คณะกรรมการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

และเวชระเบียนของโรงพยาบาลโพนทราย (IM)
1.      ผู้อำนวยการโรงพยาบาลโพนทราย               ประธานที่ปรึกษา
2.      หัวหน้ากลุ่มงานประกันสุขภาพฯ                    ประธานกรรมการ
3.      หัวหน้ากลุ่มการพยาบาล                                กรรมการ
4.      หัวหน้ากลุ่มงานเวชศาสตร์ฯ                           กรรมการ
5.      หัวหน้ากลุ่มงานทันตกรรม                              กรรมการ
6.      หัวหน้ากลุ่มงานเภสัชกรรม                             กรรมการ
7.      หัวหน้ากลุ่มงานเทคนิคการแพทย์                  กรรมการ
8.      หัวหน้ากลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู                       กรรมการ
9.      หัวหน้างานผู้ป่วยนอก                                      กรรมการ
10.  หัวหน้างานผู้ป่วยใน                                           กรรมการ
11.  หัวหน้างานผู้ป่วยอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน                   กรรมการ
12.  หัวหน้างานห้องผ่าตัด                                        กรรมการ
13.  หัวหน้างานห้องคลอด                                        กรรมการ
14.  หัวหน้างานแพทย์แผนไทย                               กรรมการ
15.  หัวหน้างานเวชระเบียน                                      กรรมการ
16.  หัวหน้างานควบคุมการติดเชื้อและจ่ายกลาง   กรรมการ
17.  นายสุรพล วงค์บุดดา                                          กรรมการ
18.  นายสมยศ ภูมิเรศสุนทร                       กรรมการและเลขานุการ
19.  นายวัชรพงษ์  ราชนิรัมย์                    กรรมการและผู้ช่วยเลขาฯ
20.  นางสาวศุภธิดา  ป้องหนองสรวง       กรรมการและผู้ช่วยเลขาฯ
 หน้าที่
1.เสนอนโยบายหรือมาตรการเกี่ยวกับการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและเวชระเบียน
2.ให้คำแนะนำหรือเสนอความเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาและกรณีที่มีปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับการดำเนินการ
3.แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อปฏิบัติงานในเรื่องใดๆตามที่คณะกรรมการกำหนด
4.ศึกษาวิเคราะห์ด้าน Software, Hardware และพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในโรงพยาบาล
5.ดำเนินการปรับปรุงประสิทธิภาพ ระบบการบันทึกจัดเก็บ และการจัดส่งข้อมูลให้ศูนย์ข้อมูล ระดับอำเภอ จังหวัด เขต ให้ครบถ้วน ถูกต้อง ทันเวลา
6.วิเคราะห์และนำเสนอข้อมูล/ผลการปฏิบัติงานในที่ประชุมกรรมการบริหารทุกเดือน
7.กำหนดแนวทางการทำงานตรวจสอบและพัฒนาคุณภาพเวชระเบียนของโรงพยาบาล
8.ให้คำปรึกษาแก่เจ้าหน้าที่อื่นๆ สรุปการวินิจฉัยโรค ตรวจสอบการให้รหัสโรค รหัสหัตถการและการบันทึกทางการพยาบาลจากเวชระเบียนที่ได้รับจาการสุ่ม
9.ตรวจสอบคุณภาพการบันทึกเวชระเบียน คุณภาพการรักษาและคุณภาพการบันทึกทางการพยาบาล จากเวชระเบียนที่ได้รับการสุ่ม
10.ควบคุมคุณภาพการทำงาน ทำการประเมินคุณภาพและศึกษาวิธีพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยทำการวิเคราะห์เพื่อประเมินคุณภาพในแง่มุมต่างๆ เพื่อช่วยในการดูแลรักษาให้ระบบควบคุมคุณภาพข้อมูลดำเนินไปได้ตลอด และเพื่อพัฒนามาตรฐานให้สูงขึ้นและทันสมัย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น